การตรวจสอบสถานะทางการเงินที่สำคัญ 10 ประการ
หากคุณได้จัดทำระบบการตรวจสอบเงินสดหมุนเวียนขึ้นมาแล้ว คุณจะสามารถตรวจสอบสถานะทางการเงิน 10 ประการของธุรกิจคุณได้ อาจดูเป็นรายการที่ค่อนข้างยาว แต่ไม่ต้องตกใจ เพราะคุณสามารถใช้ซอฟต์แวร์ในการตรวจสอบติดตามเรื่องราวเหล่านี้ได้เช่นเดียวกับที่ใช้จัดทำงบกำไรขาดทุน
สินทรัพย์ของคุณมีอะไรบ้าง
ใช่ เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า สินทรัพย์คือสิ่งต่างๆ ที่บริษัทเป็นเจ้าของ การติดตามตรวจสอบอุปกรณ์ ที่ดิน และการถือหุ้นต่างๆ เป็นเรื่องง่าย แต่คุณต้องทราบมูลค่าของสินทรัพย์ที่แท้จริง และควรตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าของสินทรัพย์เหล่านั้น มีบริษัทอยู่หลายรายที่ทราบในภายหลังว่า บริษัทเล็กๆ ของตนตั้งอยู่บนที่ดินที่มีมูลค่ามากกว่าตัวธุรกิจเองเสียอีก (ใช่ พวกเราทั้งหมดน่าจะมีปัญหาเหล่านี้ด้วย) นอกจากนี้ คุณควรตรวจสอบค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์อื่นๆ เช่น คอมพิวเตอร์และเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน เป็นต้น
หนี้สินของคุณมีอะไรบ้าง
เช่นเดียวกัน เมื่อดูเผินๆ แล้วเป็นเรื่องง่าย หนี้สินก็คือสิ่งที่คุณเป็นหนี้นั่นเอง แต่สิ่งที่คุณเป็นหนี้อาจดูไม่ได้ง่ายๆ เหมือนใบแจ้งหนี้ค่าเช่าที่ดิน ต้วอย่างเช่น ภาษีเงินเดือนเป็นหนี้สินที่คุณสามารถค้างชำระได้เป็นรายเดือนหรือรายไตรมาสได้ ขึ้นอยู่กับขนาดของเงินเดือนทั้งหมดที่บริษัทจ่าย เงินกู้เป็นหนี้สินอย่างชัดเจน แต่ในการชำระเงินกู้ คุณต้องทราบได้ว่าเงินที่ชำระนั้นเป็นเงินต้นจำนวนเท่าใด และเป็นดอกเบี้ยจำนวนเท่าใด
ค่าใช้จ่ายในการผลิตสิ่งที่คุณจะนำไปจำหน่ายมีอะไรบ้าง
หากคุณซื้อสินค้าสำเร็จรูปเพื่อนำไปจำหน่ายต่อก็เป็นเรื่องง่าย แต่กลายเป็นเรื่องที่ซับซ้อนขึ้นหากคุณต้องคำนวณทุกรายการ เช่น ค่าแรงที่ต้องใช้ในการผลิตสินค้า
ค่าใช้จ่ายในการจำหน่ายมีอะไรบ้าง
ค่าโฆษณา ค่าทำการตลาด ค่าแรง ค่าจัดเก็บสินค้า และค่าใช้จ่ายจิปาถะทั้งหมด คุณต้องทราบถึงค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าออกจากประตูโรงงานเท่าๆ กับค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้านั้น
ส่วนต่างกำไรของคุณเป็นเท่าใด
ค่านี้คำนวณด้วยการนำยอดขายทั้งหมดมาหารด้วยหน่วยสินค้าทั้งหมดเพื่อให้ได้ยอดกำไรต่อหน่วยของคุณ หากยอดนี้คงที่หรือมีแนวโน้มสูงขึ้น คุณอาจดำเนินธุรกิจได้ถูกทาง โดยเฉพาะด้านการปรับราคาขายให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนที่คุณจ่ายไป
การที่คุณสามารถทราบส่วนต่างกำไรที่ลดลงได้ทันทีจะเป็นการเตือนให้ทราบว่าคุณต้องปรับราคาขายหรือตัวเลขต้นทุน ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด ตัวเลขผลรวมกำไรและส่วนต่างกำไรของคุณอาจไม่มีเลย ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้ คุณก็จะเหมือนคนอื่นๆ ที่ขายขาดทุนแต่คิดว่าสามารถชดเชยได้ด้วยการเพิ่มปริมาณการขาย อย่าดำเนินธุรกิจเหมือนพวกนั้น
อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินของคุณเป็นอย่างไร
อัตราส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินจะช่วยให้คุณได้ทราบว่าสิ่งของในบริษัทของคุณมีจำนวนเท่าใดที่เป็นของผู้อื่น หรือเป็นของผู้ให้เงินกู้คุณนั่นเอง หากคุณมีอัตราส่วนดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ดี ในช่วงเวลาการขยายกิจการอาจเป็นเหตุการณ์ปกติ แต่ก็ยังมีความหมายว่า ธุรกิจของคุณกำลังอยู่ในสถานะลำบาก
มูลค่าบัญชีลูกหนี้มีจำนวนเท่าใด
นี่คือจำนวนเงินที่ผู้อื่นเป็นหนี้คุณ เป็นค่าที่สามารถตรวจสอบได้ หากบัญชีลูกหนี้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น อาจเป็นการเตือนให้ทราบว่าลูกค้าที่คุณขายสินค้าให้กำลังประสบปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบัญชีลูกหนี้ ซึ่งคำนวณจากร้อยละของยอดขายสินค้ามีจำนวนเพิ่มขึ้น
เวลาเฉลี่ยของการรับชำระหนี้ของบัญชีลูกหนี้
ตัวเลขดังกล่าวเป็นข้อมูลที่น่ากังวลมากที่สุดสำหรับธุรกิจที่มีเงินตึง โดยจะแสดงให้เห็นว่าคุณเป็นนายธนาคารให้กับผู้ที่เป็นหนี้คุณอยู่นานกี่วัน ในการคำนวณค่าดังกล่าว คุณต้องทราบค่าเฉลี่ยยอดขายรายวันแล้วนำค่านั้นมาหักออกเป็นตัวเลขบัญชีลูกหนี้
มูลค่าบัญชีเจ้าหนี้มีจำนวนเท่าใด
นี่คือด้านตรงข้ามกับบัญชีลูกหนี้ บัญชีลูกหนี้ที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดจากนโยบายยืดเวลาการชำระหนี้ให้ยาวนานขึ้น หรือมีปริมาณการซื้อสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นโดยรวม แต่บัญชีลูกหนี้ที่เพิ่มมากขึ้นโดยที่ไม่ได้ตั้งใจวางแผนหรือดำเนินการไว้ก่อนอาจเป็นเครื่องเตือนภัยว่า อำนาจทางการเงินของคุณกำลังอ่อนลง
สินค้าคงคลังของคุณเป็นอย่างไร
ในโลกของธุรกิจแบบ Just-in-time มีบางครั้งที่การเพิ่มสินค้าคงคลังให้มากเป็นสิ่งที่ควรทำ
ในกรณีที่สินค้าที่คุณซื้อมาเพื่อขายหรือใช้ในการผลิตมีราคาถูก การลงทุนซื้อสินค้าคงคลังให้มากขึ้นอาจฟังดูมีเหตุผล
ความสามารถในการตรวจสอบติดตามจำนวนสินค้าคงคลังของคุณ ตลอดจนระยะเวลาที่ใช้ในการจำหน่ายหรือขายสินค้านั้น สามารถบอกได้ว่าธุรกิจของคุณเจริญเติบโตขึ้นหรือว่าตกต่ำลง และยังแสดงให้เห็นจำนวนเงินที่คุณต้องหามาชำระค่าใช้จ่ายอื่น รวมทั้งแสดงจำนวนเงินที่จมอยู่กับทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เหล่านี้
การตรวจสอบสถานะทางการเงินที่สำคัญ 10 ประการและสถานะของเงินสดหมุนเวียนมีความสำคัญต่อธุรกิจของคุณเป็นอย่างมาก หากจำเป็น คุณควรขอความช่วยเหลือจากมืออาชีพและผู้ให้บริการภายนอกองค์กร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น